การเพาะเห็ดหอม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ lentinus edodes(berk)singer. ธรรมชาติของเห็ดหอม คล้ายๆกับเห็ดที่ขึ้นบนไม้อย่างอื่น เช่น เห็ดนางรม แต่เห็ดหอมมีความสามารถที่จะย่อยเซลลูโลส และลิกนิน ได้ดีกว่า จึงเจริญเติบโตได้ดีในไม้เนื้อแข็ง ทั้งนี้เพราะเห็ดหอม มีช่วงระยะของการเจริญในเส้นใยนานมาก ในไม้เนื้ออ่อนระยะบ่มเส้นใยนี้เห็ดหอมจะย่อยและ ใช้อาหารในไม้จนทำให้ไม้ผุกร่อนก่อนที่จะมีดอกเห็ดเกิดขึ้น เห็ดหอมชอบขึ้นในที่ที่มีอากาศหนาว ความชื้นสูงอย่างประเทศไทยเช่น ตามป่าเขาในภาคเหนือ อาจจะมีโอกาสขึ้นได้ แต่กว่าจะเป็นเห็ดดอก ไม่ใช่ทำการเพาะเพียงเดือน สองเดือนอย่างเห็ดชนิดอื่น เห็ดหอมมีระยะเวลาในการเจริญเติบโตทางเส้นใยนานกว่า การเพาะเริ่มกันตั้งแต่หมดฤดูหนาว เมื่ออากาศอุ่นขึ้นก็จะเริ่มลงมีเพาะกันและไม้ที่ใช้เพาะได้ดี ต้องเป็นไม้โอ็คเท่านั้น ขั้นตอนการเพาะเห็ดหอม จากการที่เห็ดหอมเจริญเติบโตบนกอไม้ และเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ไม้เป็น วัสดุเพาะจึงได้มีการทดลองเพาะเห็ดหอมในถุงแทน ซึ่งผลผลิตไม่แพ้จากการใช้ไม้เพาะโดยปฏิบัติดังนี้
1. การเตรียมสูตรอาหารขี้เลื่อย ให้ใช้สูตรเห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดตีนแรด ฯลฯ ตลอดจนขั้นตอนการเตรียมก็คล้ายคลึงกัน หรือใช้สูตรดังนี้
1. การเตรียมสูตรอาหารขี้เลื่อย ให้ใช้สูตรเห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดตีนแรด ฯลฯ ตลอดจนขั้นตอนการเตรียมก็คล้ายคลึงกัน หรือใช้สูตรดังนี้
- สูตรที่ 1 ขี้เลื่อย 100 ก.ก. รำละเอียด 5 ก.ก. แป้งข้าวเจ้า 2 ก.ก. น้ำ 65 %
- สูตรที่ 2 ขี้เลื่อย 100 ก.ก. รำละเอียด 5 ก.ก. น้ำตาลทราย 2-3 ก.ก. ดีเกลือ 0.2-0.3 ก.ก. น้ำ 65 %
2. นำส่วนผสมที่มีความชื้นเหมาะสมบรรจุลงในถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6.5x112.5 นิ้ว นำไปนึ่งและใส่เชื้อลงไป
3. นำถุงขี้เลื่อยไปบ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส นานประมาณ 3-5 เดือน
4. นำถุงขี้เลื่อยมาแกะพลาสติกออก และแช่เย็นอุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง แล้วนำมาเรียงบนชั้นเพาะเห็ด ดอกเห็ดก็จะออกมารอบๆถุง ในระยะที่เปิดถุงควรเป็นระยะที่อุณหภูมิของอากาศค่อนข้างต่ำ หรือในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว
5. หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นแรกแล้ว ให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง และถ้าต้องการให้ดอกเห็ดออกดอกอีก ให้นำไปแช่น้ำตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว ผลผลิตในรุ่นหลังจะลดลง เพราะอาหารที่สะสมในก้อนเชื้อมีน้อย
4. นำถุงขี้เลื่อยมาแกะพลาสติกออก และแช่เย็นอุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง แล้วนำมาเรียงบนชั้นเพาะเห็ด ดอกเห็ดก็จะออกมารอบๆถุง ในระยะที่เปิดถุงควรเป็นระยะที่อุณหภูมิของอากาศค่อนข้างต่ำ หรือในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว
5. หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นแรกแล้ว ให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง และถ้าต้องการให้ดอกเห็ดออกดอกอีก ให้นำไปแช่น้ำตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว ผลผลิตในรุ่นหลังจะลดลง เพราะอาหารที่สะสมในก้อนเชื้อมีน้อย
ปัจจัยที่สำคัญและการดูแลรักษา
1. อุณหภูมิ เส้นใยของเห็ดหอมจะเจริญได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นจะชะงักการเจริญเติบโต และเส้นใยของเห็ดหอมจะตายที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส
2. ความชื้น มีความจำเป็นสำหรับระยะเวลาที่ให้ผลผลิต ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับ การเจริญของเชื้อเห็ดหอมอยู่ระหว่าง50-85% ในระยะบ่มเส้นใยไม่ต้องการความชื้นในบรรยากาศเหมือนเห็ดทั่วไป ควรระมัดระวังไม่ให้น้ำถูกสำลี ซึ่งอาจจะเป็นทางให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้
3. อากาศ การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเกิดดอกเห็ด ถ้ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก จะทำให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้งหมวกดอกจะไม่เจริญหรือมีลักษณะผิดปกติอื่นๆ
4. แสง เป็นตัวกระตุ้นให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด และเจริญเป็นดอกเห็ดได้รวดเร็วกว่าในที่มืด แต่ไม่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิต ซึ่งจะมีผลดีในกรณีของการชะลอการให้ผลผลิต นอกจากนี้แสงจะช่วยให้หมวกดอกมีสีเข้มไม่ซีดจาง
5. ระยะเวลาการบ่มเส้นใย เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการให้ผลผลิต ซึ่งการบ่มเส้นใยที่ได้ผลควรจะบ่มไว้ไม่ต่ำกว่า 3-4 เดือน
6. การแช่น้ำเย็น จะกระทำเมื่อต้องการให้เกิดดอก ภายหลังจากบ่มเส้นใยที่สมบูรณ์แล้ว โดยการแช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็นประมาณ 2 ชั่วโมง หรือแช่น้ำค้างคืนก็ได้
การให้ผลผลิต
กรณีการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ผลผลิตดอกเห็ดสดมีตั้งแต่ 50-400 กรัมต่อน้ำหนักวัสดุเพาะ 800-1,000 กรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่และเทคนิควิธีการของผู้เพาะเห็ด สำหรับการเพาะจากขอนไม้ ผลผลิตเห็ดสดเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 1.5-2 กิโลกรัมต่อท่อน ขนาดยาว 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว ส่วนไม้เนื้อแข็งนั้นเห็ดหอมก็สามารถขึ้นได้บ้างแต่ให้ผลผลิตต่ำมาก
การเก็บรักษาและแปรรูปเห็ดหอม เห็ดหอมเป็นเห็ดที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี หมวกดอกมีความทนทานไม่แตกเป็นขุย การรับประทานเห็ดหอมนั้นดอกเห็ดสดจะมีคุณภาพดีกว่าดอกเห็ดแห้ง
การเก็บรักษาเห็ดหอม
1. อุณหภูมิ เส้นใยของเห็ดหอมจะเจริญได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นจะชะงักการเจริญเติบโต และเส้นใยของเห็ดหอมจะตายที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส
2. ความชื้น มีความจำเป็นสำหรับระยะเวลาที่ให้ผลผลิต ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับ การเจริญของเชื้อเห็ดหอมอยู่ระหว่าง50-85% ในระยะบ่มเส้นใยไม่ต้องการความชื้นในบรรยากาศเหมือนเห็ดทั่วไป ควรระมัดระวังไม่ให้น้ำถูกสำลี ซึ่งอาจจะเป็นทางให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้
3. อากาศ การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเกิดดอกเห็ด ถ้ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก จะทำให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้งหมวกดอกจะไม่เจริญหรือมีลักษณะผิดปกติอื่นๆ
4. แสง เป็นตัวกระตุ้นให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด และเจริญเป็นดอกเห็ดได้รวดเร็วกว่าในที่มืด แต่ไม่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิต ซึ่งจะมีผลดีในกรณีของการชะลอการให้ผลผลิต นอกจากนี้แสงจะช่วยให้หมวกดอกมีสีเข้มไม่ซีดจาง
5. ระยะเวลาการบ่มเส้นใย เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการให้ผลผลิต ซึ่งการบ่มเส้นใยที่ได้ผลควรจะบ่มไว้ไม่ต่ำกว่า 3-4 เดือน
6. การแช่น้ำเย็น จะกระทำเมื่อต้องการให้เกิดดอก ภายหลังจากบ่มเส้นใยที่สมบูรณ์แล้ว โดยการแช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็นประมาณ 2 ชั่วโมง หรือแช่น้ำค้างคืนก็ได้
การให้ผลผลิต
กรณีการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ผลผลิตดอกเห็ดสดมีตั้งแต่ 50-400 กรัมต่อน้ำหนักวัสดุเพาะ 800-1,000 กรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่และเทคนิควิธีการของผู้เพาะเห็ด สำหรับการเพาะจากขอนไม้ ผลผลิตเห็ดสดเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 1.5-2 กิโลกรัมต่อท่อน ขนาดยาว 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว ส่วนไม้เนื้อแข็งนั้นเห็ดหอมก็สามารถขึ้นได้บ้างแต่ให้ผลผลิตต่ำมาก
การเก็บรักษาและแปรรูปเห็ดหอม เห็ดหอมเป็นเห็ดที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี หมวกดอกมีความทนทานไม่แตกเป็นขุย การรับประทานเห็ดหอมนั้นดอกเห็ดสดจะมีคุณภาพดีกว่าดอกเห็ดแห้ง
การเก็บรักษาเห็ดหอม
ที่นิยมกันมากที่สุด มี 2 วิธี คือ
1. การตากแห้ง เป็นวิธีการรักษาเห็ดหอมที่นิยามากกว่าวิธีอื่น โดยการนำดอกเห็ดมาตากแดดจนแห้งสนิท แต่ดอกเห็ดจะแห้งเร็วเกินไป อาจมีการยุบตัวของดอกทำให้ไม่สวยงาม หรืออาจตากดอกเห็ดให้แห้งติดกับท่อนไม้หรือวัสดุที่ใช้เพาะ โดยการให้น้ำน้อยๆปล่อยให้ดอกเห็ดแห้งไปเอง จะได้ดอกเห็ดที่ไม่เสียรูปทรงและขายได้ราคาดีกว่า
2. การอบแห้ง เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำดอกเห็ดแห้งสนิท โดยการอบด้วยความร้อนแห้งซึ่งทำให้ดอกเห็ดที่ได้มีคุณภาพ รสชาด และรูปทรงของดอกเห็ดดีกว่า การตากแดด อุณหภูมิเริ่มต้นที่ใช้ในการอบแห้งควรสูงประมาณ 30 องศาเซลเซียส และค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิชั่วโมงละ 1-2 องศาจนถึง 50 องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เวลาประมาณ 12-13 ชั่วโมง จากนั้นจึงเพิ่มเป็น 60 องศาเซลเซียส และรักษาอุณหภูมิให้คงที่นาน 1 ชั่วโมง ดอกเห็ดก็จะแห้งแลเก็บไว้ได้นาน การอบแห้งจะช่วยเพิ่มรสชาดของเห็ดหอม และทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นเงางาม
โรคและศัตรูเห็ดหอม
1. เชื้อรา เป็นศัตรูที่สำคัญของเห็ดหอม ได้แก่ ราดำ ราเขียว ราเมือก ซึ่งจัดว่าเป็นศัตรูที่คอยทำลายเห็ดหอมในก้อนเชื้อและท่อนไม้ เชื้อราพวกนี้จะ เจริญเติบโตในที่อับชื้นมากเกินไป อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ดังนั้นจึงควรระวังรักษาโรงเรือนให้สะอาด อย่าให้เป็น แหล่งสะสมของเชื้อโรค และศัตรูของเห็ดหอม
2. วัชเห็ด ซึ่งชอบเจริญบนท่อนไม้ระหว่างพักเชื้อ ซึ่งเป็นพวกที่ชอบความชื้นมาก และจะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ดังนั้นโรงเรือนที่ใช้ในการพักเชื้อไม่ควรให้มีความชื้นมากเกินไป และควรให้อากาศระบายถ่ายเทได้สะดวก ส่วนท่อนไม้ที่นำมาเพาะเชื้อต้องระวังอย่าให้เปลือกแตก เพราะอาจทำให้เชื้อวัชเห็ดจากภายนอกเข้าไปเจริญในท่อนไม้ได้
2. การอบแห้ง เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำดอกเห็ดแห้งสนิท โดยการอบด้วยความร้อนแห้งซึ่งทำให้ดอกเห็ดที่ได้มีคุณภาพ รสชาด และรูปทรงของดอกเห็ดดีกว่า การตากแดด อุณหภูมิเริ่มต้นที่ใช้ในการอบแห้งควรสูงประมาณ 30 องศาเซลเซียส และค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิชั่วโมงละ 1-2 องศาจนถึง 50 องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เวลาประมาณ 12-13 ชั่วโมง จากนั้นจึงเพิ่มเป็น 60 องศาเซลเซียส และรักษาอุณหภูมิให้คงที่นาน 1 ชั่วโมง ดอกเห็ดก็จะแห้งแลเก็บไว้ได้นาน การอบแห้งจะช่วยเพิ่มรสชาดของเห็ดหอม และทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นเงางาม
โรคและศัตรูเห็ดหอม
1. เชื้อรา เป็นศัตรูที่สำคัญของเห็ดหอม ได้แก่ ราดำ ราเขียว ราเมือก ซึ่งจัดว่าเป็นศัตรูที่คอยทำลายเห็ดหอมในก้อนเชื้อและท่อนไม้ เชื้อราพวกนี้จะ เจริญเติบโตในที่อับชื้นมากเกินไป อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ดังนั้นจึงควรระวังรักษาโรงเรือนให้สะอาด อย่าให้เป็น แหล่งสะสมของเชื้อโรค และศัตรูของเห็ดหอม
2. วัชเห็ด ซึ่งชอบเจริญบนท่อนไม้ระหว่างพักเชื้อ ซึ่งเป็นพวกที่ชอบความชื้นมาก และจะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ดังนั้นโรงเรือนที่ใช้ในการพักเชื้อไม่ควรให้มีความชื้นมากเกินไป และควรให้อากาศระบายถ่ายเทได้สะดวก ส่วนท่อนไม้ที่นำมาเพาะเชื้อต้องระวังอย่าให้เปลือกแตก เพราะอาจทำให้เชื้อวัชเห็ดจากภายนอกเข้าไปเจริญในท่อนไม้ได้
3. เชื้อที่มีลักษณะคล้ายไวรัส อาจแพร่ระบาดทำลายเส้นใยเห็ดหอมได้ ดังนั้นการเลี้ยงเชื้อเห็ดหอมบนอาหารวุ้น ควรตรวจเส้นใยเห็ดหอมตลอดเวลาว่ามีเชื้อไวรัสปลอมปนหรือไม่ ถ้ามีให้คัดทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ
Credit : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Credit : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น