วัสดุและอุปกรณ์
1. วัสดุเพาะ ได้แก่ ฟางข้าว ผักตบชวา ทลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ขี้เลื่อย หรือก้อนเห็ดถุงที่เก็บผลผลิตหมดแล้ว
1. วัสดุเพาะ ได้แก่ ฟางข้าว ผักตบชวา ทลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ขี้เลื่อย หรือก้อนเห็ดถุงที่เก็บผลผลิตหมดแล้ว
2. อาหารเสริม ได้แก่ ไส้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาตากแห้ง ฝักถั่วเหลือง มูลสัตว์ ผสมดินร่วน ในอัตราส่วน 2:1 หรือ 1:1
3. ไม้แบบ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 30 เซนติเมตร ด้านล่างกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 120 - 150 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร สำหรับไม้แบบที่ใช้วัสดุเพาะเป็นเปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง จะมีขนาดเล็กกว่าขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นอกจากนั้น ยังต้องมีแผ่นไม้สำหรับกดให้วัสดุเพาะแน่น แทนการเหยียบย่ำเหมือนกับการเพาะด้วยฟาง
4. น้ำ ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน กลิ่นเน่าเหม็น ไม่เป็นน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย
5. พลาสติกที่ใช้ในการคลุมกองเห็ดควรใช้ชนิดใสหรือพลาสติกถุงปุ๋ย ถ้าหาไม่ได้ก็ให้ใช้กระสอบปุ๋ยแทนแต่ต้องนำ ไปล้างน้ำให้ปราศจากความเค็มของปุ๋ย เพราะความเค็มจะทำให้เห็ดชะงักการเจริญเติบโตได้
6. อุปกรณ์การให้น้ำ จอบและเสียม
7. เชื้อเห็ดฟาง ต้องเป็นเชื้อที่เพิ่งใส่เชื้อเห็ดในถุงใหม่ๆ ทิ้งไว้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อให้เส้นใยหนาแน่น
8. เศษฟาง เศษหญ้าแห้ง แผงหญ้าคา สำหรับคลุมกองเพาะเห็ด เพื่อพรางแสงแดด
และช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในกองฟาง
และช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในกองฟาง
9. สถานที่สำหรับเพาะ เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยนั้น ต้องเพาะบนพื้นดิน ดังนั้น พื้นที่จะต้องเป็นที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง และต้องไม่เคยเป็นที่เพาะเห็ดฟางมาก่อน 1-2 เดือน ไม่มีมด ปลวก ไม่ควรเพาะในที่เป็นดินเค็ม นอกจากนั้นสถานที่เพาะต้องไม่มีสารเคมีตกค้างมาจาก การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและควรทำการไถพรวน หรือขุดหน้าดินขึ้นตาก ก่อนทำการเพาะประมาณ 7-10 วัน
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง
1. ทำวัสดุเพาะรวมทั้งอาหารเสริมทุกชนิดไปแช่น้ำให้โชกเสียก่อน ยกเว้นอาหารเสริมที่ได้จากมูลสัตว์ผสมดิน ไม่ต้องแช่น้ำ ฟางข้าว ควรแช่น้ำ 1 คืน ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวา แช่ 1-2 ชั่วโมง
1. ทำวัสดุเพาะรวมทั้งอาหารเสริมทุกชนิดไปแช่น้ำให้โชกเสียก่อน ยกเว้นอาหารเสริมที่ได้จากมูลสัตว์ผสมดิน ไม่ต้องแช่น้ำ ฟางข้าว ควรแช่น้ำ 1 คืน ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวา แช่ 1-2 ชั่วโมง
2. ปรับดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม วางแบบพิมพ์ลงบนดิน
3. ใส่ฟางลงไปให้หนา 8-12 เซนติเมตร ใช้มือกดให้แน่น หรืออาจจะเหยียบสัก 1-2 เที่ยว
4. ใส่อาหารเสริมบริเวณขอบโดยรอบกว้าง 5-7 เซนติเมตร
5. โรยเชื้อเห็ดโดยรอบบนอาหารเสริม เชื้อเห็ดที่ใช้ควรขยี้ให้แตกออกจากกันเสียก่อน เป็นอันเสร็จในชั้นที่ 1 เมื่อเสร็จแล้วก็ทำชั้นต่อไป โดยทำเช่นเดียวกับชั้นแรก คือใส่ฟางลงไปในแบบไม้หนา 8-12 เซนติเมตร กดให้แน่นใส่อาหารเสริมโรยเชื้อ ถ้าเป็นฤดูหนาวหรือช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส
ควรทำ 4-5 ชั้น ฤดูร้อนควรทำ 3 ชั้น
ควรทำ 4-5 ชั้น ฤดูร้อนควรทำ 3 ชั้น
6. เมื่อทำกองฟางเสร็จแล้ว รดน้ำบนกองให้โชกอีกครั้ง ถอดแบบพิมพ์ เพื่อนำไปใช้เพาะกองต่อไป
7. การโรยเชื้อชั้นสุดท้าย ใช้เชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริมโรยรอบกอง ทั้งนี้จะทำให้ได้ดอกเห็ดเกิดระหว่างกอง เป็นการเพิ่มปริมาณดอกเห็ด นอกเหนือจากที่ได้จากกองเพาะเห็ด การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ควรจะทำกองใกล้ๆกัน ห่างกันประมาณ 1 คืบ โดยกองขนานกันไป 10-20 กอง เพื่อทำให้อุณหภูมิและความชื้น ของกองไม่เปลี่ยนแปลงเร็วนัก
8. คลุมด้วยพลาสติกใสหรือทึบ การคลุมกองให้คลุมทั้งหมดในแปลงด้วยพลาสติก 2 ผืน โดยให้ขอบด้านหนึ่งทับกันบริเวณหลังกอง จากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกที หรืออาจทำแผงจาก ปิดไม่ให้แสงแดดส่อง ถึงกองฟางโดยตรง ก่อนการคลุมด้วยพลาสติกอาจทำโครงไม้เหนือกอง เพื่อไม่ให้พลาสติกติดกอง แล้วปิดด้วยฟางหลวมๆก่อน ในฤดูร้อนแดดจัด หลังจากสามวันแรกควรเปิดพลาสติกหลังกองกว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนปิดไว้อย่างเดิม ในวันที่ 4-5 ให้ตรวจดูความชื้น ถ้าเห็นว่าข้างและหลังกองแห้งมากให้ใช้บัวรดน้ำ รดเบาๆให้ชื้น แล้วปิดไว้อย่างเดิม แต่ปกติแล้วการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย หลังจากปิดด้วยพลาสติกและฟางแล้วก็มักไม่ต้องทำอะไร แต่ควรปรับความชื้นให้เพียงพอก่อนปิดพลาสติก ประมาณวันที่ 7-9 ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้
การเพาะเห็ดฟางโดยใช้เปลือกถั่วเขียว
1.การเตรียมพื้นที่ ควรใช้จอบดายหญ้าบริเวณที่จะเพาะเห็ดฟางพร้อมกับมี การขุดและพรวนดินคล้ายการเตรียมดินปลูกผัก การพรวนดินนับว่ามีความสำคัญมากเพราะการเพาะเห็ดฟางด้วยวิธีนี้ จะมีเห็ดฟางเจริญเติบโตบนพื้นดินมาก ถ้ามีการเตรียมดินอย่างดี ก็จะช่วยเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางได้อย่างมาก
2. การเตรียมเปลือกถั่วเขียวที่จะใช้เพาะเห็ด ควรเป็นเปลือกถั่วเขียวที่ผ่านการนวดใหม่ๆ และต้องแห้งสนิท เพราะถ้ายังชื้น อยู่จะมีราชนิดอื่น เจริญปะปนไม่ควรที่จะนำมาใช้เพาะเห็ด ก่อนทำการเพาะควรนำ เปลือกถั่วเขียวมาแช่น้ำให้ดูดความชื้นประมาณ 1 ชั่วโมง โดยให้แช่ในถังน้ำมัน 200 ลิตร ผ่าซีกก็ได้
3. นำแบบไม้มาวางบนแปลงที่เตรียมไว้ รดน้ำจนชุ่ม แล้วนำเปลือกถั่วเขียวใส่ลงไปในไม้แบบ ใช้มือเกลี่ยให้สม่ำเสมอ และกดให้แน่นพอสมควรโดยให้ชั้นของเปลือกถั่วเขียวหนาประมาณ 10 เซนติเมตร และใช้บัวรดน้ำรดบนเปลือกถั่ว เพื่อให้เปลือกถั่วจับกันแน่นพอสมควร จากนั้นจึงยกแบบไม้ออก และทำกองต่อไป ให้ห่างจากกองเดิมประมาณ 1 คืบ ในแปลงเพาะเห็ดหนึ่งๆ จะทำกองเปลือกถั่วเขียวประมาณ 9-12 กอง
4.หลังจากกองเปลือกถั่วเขียวเสร็จในแต่ละแปลง ควรพรวนดินระหว่างกองเปลือกถั่ว และพื้นที่รอบๆ กองทั้งหมด พร้อมกับนำอาหารเสริม พวกมูลสัตว์ผสมกับละอองข้าวในอัตรา 1:1 โดยปริมาตรคลุกเคล้ากับดินรอบๆแปลง(อาจใช้รำหยาบหรือรำละเอียดแทนก็ได้) จากนั้นจึงรดน้ำให้ชุ่ม
5.การโรยเชื้อเห็ด ให้นำเชื้อเห็ดมาขยี้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาโรยบนอาหารเสริมรอบๆกองเปลือกถั่วเขียว ตามปกติจะใช้เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง ต่อกองเปลือกถั่วเขี้ยว 5-6 กอง โดยพยายามโรยเชื้อเห็ดฟางให้ชิดกับกองเปลือกถั่วเขียว
6.การคลุมพลาสติก ให้ใช้พลาสติกที่มีความกว้างประมาณ 1 เมตร คลุมกองเปลือกถั่วในลักษณะแบนราบทั่วทั้งแปลง จากนั้นจึงใช้จากหรือหญ้าคาคลุมทับแปลงเพาะเห็ดเพื่อป้องกันแสงแดด พลาสติกที่คลุมจะช่วยรักษาความชื้น และอุณหภูมิในแปลงเพาะเห็ดให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย เห็ดฟางต้องระวังอย่าให้กองเปลือกถั่วถูกลมโกรก ให้คลุมกองเปลือกถั่วเขียวไว้ประมาณ 4 วัน
7.หลังจากโรยเชื้อเห็ดได้ 5 วัน ควรเอาจากหรือหญ้าคาที่คลุมแปลงออก และเปิดพลาสติกคลุมกองให้อากาศระบายถ่ายเท เข้าไปในแปลงเห็ดพร้อมกับนำไม้ไผ่มาโก่งเสียบที่ขอบแปลงเป็นโครง แปลงหนึ่งๆจะใช้โครงไม้ไผ่ประมาณ 4 อัน แล้วใช้พลาสติกคลุมลงบนโครงไม้ไผ่ และใช้จากหรือหญ้าคาคลุมทับอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันแสงแดด ในระยะนี้ถ้ากอง เปลือกถั่วแห้งเกินไปก็รดน้ำให้ความชื้นแก่กองเปลือกถั่วได้ ทั้งนี้เพราะเส้นใยของเห็ดยังไม่มีการพัฒนาไปเป็นตุ่มดอกเห็ด แต่ถ้าเส้นใยรวมตัวกันเป็นตุ่มดอกเห็ดเล็กๆ ถ้ารดน้ำจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อเสียหายได้ต้องระมัดระวังให้มาก
8.หลังจากการเพาะเห็ดได้ 8-9 วันเส้นใยของดอกเห็ดจะพัฒนาเป็นดอกเห็ดเล็กๆเท่าหัวเข็มหมุด ควรเพิ่มความชื้นให้แก่แปลงเห็ดโดยใช้หัวฉีดที่ใช้สำหรับฉีดสารเคมี ฉีดน้ำให้เป็นฝอย แต่ต้องระวังอย่าให้ถูกดอกเห็ดโดยตรงเพราะจะทำให้ดอกเห็ดเน่าได้
9.การเก็บผลผลิตหลังจากเพาะเห็ดได้ 11-13 วัน ดอกเห็ดจะมีขนาดโตพอที่จะเก็บไปจำหน่ายได้ ควรเลือกดอกระยะดอกตูม การเก็บผลผลิตรุ่นแรกจะให้ผลผลิตสูงมาก ส่วนรุ่นที่สองจะลดลง
2. การเตรียมเปลือกถั่วเขียวที่จะใช้เพาะเห็ด ควรเป็นเปลือกถั่วเขียวที่ผ่านการนวดใหม่ๆ และต้องแห้งสนิท เพราะถ้ายังชื้น อยู่จะมีราชนิดอื่น เจริญปะปนไม่ควรที่จะนำมาใช้เพาะเห็ด ก่อนทำการเพาะควรนำ เปลือกถั่วเขียวมาแช่น้ำให้ดูดความชื้นประมาณ 1 ชั่วโมง โดยให้แช่ในถังน้ำมัน 200 ลิตร ผ่าซีกก็ได้
3. นำแบบไม้มาวางบนแปลงที่เตรียมไว้ รดน้ำจนชุ่ม แล้วนำเปลือกถั่วเขียวใส่ลงไปในไม้แบบ ใช้มือเกลี่ยให้สม่ำเสมอ และกดให้แน่นพอสมควรโดยให้ชั้นของเปลือกถั่วเขียวหนาประมาณ 10 เซนติเมตร และใช้บัวรดน้ำรดบนเปลือกถั่ว เพื่อให้เปลือกถั่วจับกันแน่นพอสมควร จากนั้นจึงยกแบบไม้ออก และทำกองต่อไป ให้ห่างจากกองเดิมประมาณ 1 คืบ ในแปลงเพาะเห็ดหนึ่งๆ จะทำกองเปลือกถั่วเขียวประมาณ 9-12 กอง
4.หลังจากกองเปลือกถั่วเขียวเสร็จในแต่ละแปลง ควรพรวนดินระหว่างกองเปลือกถั่ว และพื้นที่รอบๆ กองทั้งหมด พร้อมกับนำอาหารเสริม พวกมูลสัตว์ผสมกับละอองข้าวในอัตรา 1:1 โดยปริมาตรคลุกเคล้ากับดินรอบๆแปลง(อาจใช้รำหยาบหรือรำละเอียดแทนก็ได้) จากนั้นจึงรดน้ำให้ชุ่ม
5.การโรยเชื้อเห็ด ให้นำเชื้อเห็ดมาขยี้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาโรยบนอาหารเสริมรอบๆกองเปลือกถั่วเขียว ตามปกติจะใช้เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง ต่อกองเปลือกถั่วเขี้ยว 5-6 กอง โดยพยายามโรยเชื้อเห็ดฟางให้ชิดกับกองเปลือกถั่วเขียว
6.การคลุมพลาสติก ให้ใช้พลาสติกที่มีความกว้างประมาณ 1 เมตร คลุมกองเปลือกถั่วในลักษณะแบนราบทั่วทั้งแปลง จากนั้นจึงใช้จากหรือหญ้าคาคลุมทับแปลงเพาะเห็ดเพื่อป้องกันแสงแดด พลาสติกที่คลุมจะช่วยรักษาความชื้น และอุณหภูมิในแปลงเพาะเห็ดให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย เห็ดฟางต้องระวังอย่าให้กองเปลือกถั่วถูกลมโกรก ให้คลุมกองเปลือกถั่วเขียวไว้ประมาณ 4 วัน
7.หลังจากโรยเชื้อเห็ดได้ 5 วัน ควรเอาจากหรือหญ้าคาที่คลุมแปลงออก และเปิดพลาสติกคลุมกองให้อากาศระบายถ่ายเท เข้าไปในแปลงเห็ดพร้อมกับนำไม้ไผ่มาโก่งเสียบที่ขอบแปลงเป็นโครง แปลงหนึ่งๆจะใช้โครงไม้ไผ่ประมาณ 4 อัน แล้วใช้พลาสติกคลุมลงบนโครงไม้ไผ่ และใช้จากหรือหญ้าคาคลุมทับอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันแสงแดด ในระยะนี้ถ้ากอง เปลือกถั่วแห้งเกินไปก็รดน้ำให้ความชื้นแก่กองเปลือกถั่วได้ ทั้งนี้เพราะเส้นใยของเห็ดยังไม่มีการพัฒนาไปเป็นตุ่มดอกเห็ด แต่ถ้าเส้นใยรวมตัวกันเป็นตุ่มดอกเห็ดเล็กๆ ถ้ารดน้ำจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อเสียหายได้ต้องระมัดระวังให้มาก
8.หลังจากการเพาะเห็ดได้ 8-9 วันเส้นใยของดอกเห็ดจะพัฒนาเป็นดอกเห็ดเล็กๆเท่าหัวเข็มหมุด ควรเพิ่มความชื้นให้แก่แปลงเห็ดโดยใช้หัวฉีดที่ใช้สำหรับฉีดสารเคมี ฉีดน้ำให้เป็นฝอย แต่ต้องระวังอย่าให้ถูกดอกเห็ดโดยตรงเพราะจะทำให้ดอกเห็ดเน่าได้
9.การเก็บผลผลิตหลังจากเพาะเห็ดได้ 11-13 วัน ดอกเห็ดจะมีขนาดโตพอที่จะเก็บไปจำหน่ายได้ ควรเลือกดอกระยะดอกตูม การเก็บผลผลิตรุ่นแรกจะให้ผลผลิตสูงมาก ส่วนรุ่นที่สองจะลดลง
การเพาะเห็ดฟางโดยใช้เปลือกมันสำปะหลัง
1.การเตรียมพื้นที่ ปรับพื้นที่ให้เรียบเพื่อไม่ให้มีน้ำขัง เก็บเศษวัชพืชในแปลงออกให้หมด
2.การเตรียมเพาะเห็ดฟาง ขุดดินแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ขนาดความกว้างของแปลงประมาณ 80 เซนติเมตร ขนาดความยาวของแปลงประมาณ 5.6-7.8 เมตร หลังจากนั้นพรวนดิน ในแปลงเพาะพร้อมทั้งคราดปรับระดับให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง
3.วิธีการและขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลัง
2.การเตรียมเพาะเห็ดฟาง ขุดดินแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ขนาดความกว้างของแปลงประมาณ 80 เซนติเมตร ขนาดความยาวของแปลงประมาณ 5.6-7.8 เมตร หลังจากนั้นพรวนดิน ในแปลงเพาะพร้อมทั้งคราดปรับระดับให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง
3.วิธีการและขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกมันสำปะหลัง
- รดน้ำให้ชุ่มทั่วทั้งแปลง
- ขึงเชือกหัวแปลง-ท้ายแปลงด้านใดด้านหนึ่งตามความยาวของแปลง
- อัดเปลือกมันลงในบล็อกไม้แบบให้แน่น รดน้ำลงในแบบที่อัดเปลือกมัน ถอดบล็อกออก และนำแบบไปตั้งกองใหม่ใส่เปลือกมัน ให้เสร็จทั้งแปลงในลักษณะเดียวกัน โดยห่างกันกองละ 20 เซนติเมตร จะได้กองเปลือกมัน 30-40 กองต่อแปลง
- พรวนดินระหว่างช่องว่างของกองเปลือกมันให้ทั่วทั้งแปลง
- หว่านปุ๋ยคอกให้ทั่วทั้งแปลง ในอัตราส่วน 1-2 ปี๊บต่อแปลง
- รดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นนำเอาเชื้อเห็ดฟางใส่กะละมัง ขยี้เชื้อเห็ดฟางให้แตกออกจากกัน โดยใช้เชื้อเห็ดฟาง 15-20 ถุงต่อแปลง
- โรยเชื้อเห็ดฟางระหว่างช่องว่างของกองเปลือกมัน ให้ทั่วและรดน้ำให้ชุ่ม
- ปักโครงไม้ไผ่ 15-20 อันต่อแปลง
- คลุมด้วยพลาสติกใสตลอดแปลงให้มิดชิด พร้อมกับคลุมหลังแปลงด้วยเศษฟางหรือหญ้าแห้ง
4.การดูแลรักษา
- หลังเพาะเห็ดฟางได้ 3 วัน ใช้บัวรดน้ำรดแปลงเพาะเห็ดในตอนเย็น เพื่อตัดเส้นใยไม่ให้เดินต่อ โดยใช้น้ำรด 6-8 บัวต่อแปลง
- ก่อนเก็บผลผลิตทุกครั้งให้ รดน้ำแปลงเพาะเห็ดในตอนเย็นและเก็บผลผลิตในตอนเช้า
5.การเก็บผลผลิตเห็ดฟาง สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังจากเพาะประมาณ 7-10 วัน และจะสามารถเก็บผลผลิตได้ติดต่อกัน 3-4 วัน ซึ่งจะให้ผลผลิตรวมประมาณ 30-35 กิโลกรัมต่อแปลง
การเพาะเห็ดฟางโดย ใช้ขี้เลื่อยและผักตบชวา
การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราและผักตบชวาสด ทำให้ทุ่นแรงงานและเวลาในการตากผักตบชวา และเป็นการใช้วัสดุเพาะที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาเพาะเห็ด ฟางแทนที่จะใช้ฟางข้าวซึ่งมีน้อยและมีราคาแพง นิยมเพาะใต้ร่มไม้ในสวนยาง สวนปาล์ม การเพาะทำได้ดังนี้
1.วางแบบพิมพ์ไม้ลงบนพื้นราบ
2.แช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้ชุ่ม (4-8 ชั่วโมง) และใส่ลงในแบบไม้หนา 5-7 เซนติเมตร ใส่ผักตบชวาที่หั่นเป็นท่อนยาว 5-7 นิ้ว หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วจึงโรยเชื้อเห็ดฟาง โดยโรยชั้นละประมาณ 1/3 ของถุง
3.ทำชั้นที่ 2,3,4 และ5 เช่นเดียวกับการทำชั้นที่ 1
4.ถอดแบบพิมพ์ออกแล้วใช้กิ่งไม้ขนาดเท่าดินสอดำ หรือใช้ไม้ไผ่ทำโครงกองละ 5-6 อัน เพื่อใช้ค้ำพลาสติกไม่ให้พลาสติกติดหลังกอง
5.คลุมด้วยพลาสติกและแผงจาก
6.การดูแลรักษาและเก็บผลผลิตเห็ดก็เช่นเดียวกับการเพาะด้วยฟาง
การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราและผักตบชวาสด ทำให้ทุ่นแรงงานและเวลาในการตากผักตบชวา และเป็นการใช้วัสดุเพาะที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาเพาะเห็ด ฟางแทนที่จะใช้ฟางข้าวซึ่งมีน้อยและมีราคาแพง นิยมเพาะใต้ร่มไม้ในสวนยาง สวนปาล์ม การเพาะทำได้ดังนี้
1.วางแบบพิมพ์ไม้ลงบนพื้นราบ
2.แช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้ชุ่ม (4-8 ชั่วโมง) และใส่ลงในแบบไม้หนา 5-7 เซนติเมตร ใส่ผักตบชวาที่หั่นเป็นท่อนยาว 5-7 นิ้ว หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วจึงโรยเชื้อเห็ดฟาง โดยโรยชั้นละประมาณ 1/3 ของถุง
3.ทำชั้นที่ 2,3,4 และ5 เช่นเดียวกับการทำชั้นที่ 1
4.ถอดแบบพิมพ์ออกแล้วใช้กิ่งไม้ขนาดเท่าดินสอดำ หรือใช้ไม้ไผ่ทำโครงกองละ 5-6 อัน เพื่อใช้ค้ำพลาสติกไม่ให้พลาสติกติดหลังกอง
5.คลุมด้วยพลาสติกและแผงจาก
6.การดูแลรักษาและเก็บผลผลิตเห็ดก็เช่นเดียวกับการเพาะด้วยฟาง
การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ทลายปาล์ม
1.เตรียมวัสดุเพาะดังนี้
- ทลายปาล์ม 1 คันรถ
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 1 กระสอบปุ๋ยต่อ 1 คันรถ
- บล็อกไม้ใช้ไม้ 1.5 * 3 นิ้ว ทำเป็นบล็อกกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร
- พลาสติกสีเทาความยาว 320 เซนติเมตร ต่อ 1 บล็อก
- ใช้เชื้อเห็ดฟาง 6-7 ถุง ต่อ 1 บล็อก
- ใช้ไม้ไผ่ทำโครงความยาว 180 เซนติเมตร
2.วิธีการเพาะ เพาะใต้ร่มไม้เหมือนการใช้ผักตบชวา นำทลายปาล์มมา 1 คันรถ หมักโดยรดน้ำให้เปียกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง วันละ 1 ครั้ง เสร็จแล้วเอาพลาสติกสีดำคลุมให้มิดชิด ทำอย่างนี้ 4 วัน แล้วคลุมพลาสติกทิ้งไว้อีก 12-15 วัน พอถึงวันเพาะให้เอาบล็อกวางลงพื้นแล้วเทขี้เลื่อยลงในบล็อก กวาดให้เรียบ เอาทะลายปาล์มวางลงให้เต็มบล็อกรดน้ำให้เปียก โรยเชื้อเห็ดให้ทั่วเสร็จแล้วใช้น้ำรดให้ทั่วประมาณ 1 บัวรดน้ำ เอาพลาสติกคลุมให้ติดพื้น จากนั้นอีกประมาณ 8-10 วัน ให้ทำโครงไม้ไผ่สูงประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้พลาสติกติดกองเห็ด ต่อมาประมาณ 2-3 วัน ก็เก็บดอกเห็ดได้ จากวันเพาะจนถึงวันเก็บประมาณ 10-20 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ ถ้าฝนตกมากดอกเห็ดจะเกิดช้ากว่าประมาณ 2-5 วัน
1.เตรียมวัสดุเพาะดังนี้
- ทลายปาล์ม 1 คันรถ
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 1 กระสอบปุ๋ยต่อ 1 คันรถ
- บล็อกไม้ใช้ไม้ 1.5 * 3 นิ้ว ทำเป็นบล็อกกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร
- พลาสติกสีเทาความยาว 320 เซนติเมตร ต่อ 1 บล็อก
- ใช้เชื้อเห็ดฟาง 6-7 ถุง ต่อ 1 บล็อก
- ใช้ไม้ไผ่ทำโครงความยาว 180 เซนติเมตร
2.วิธีการเพาะ เพาะใต้ร่มไม้เหมือนการใช้ผักตบชวา นำทลายปาล์มมา 1 คันรถ หมักโดยรดน้ำให้เปียกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง วันละ 1 ครั้ง เสร็จแล้วเอาพลาสติกสีดำคลุมให้มิดชิด ทำอย่างนี้ 4 วัน แล้วคลุมพลาสติกทิ้งไว้อีก 12-15 วัน พอถึงวันเพาะให้เอาบล็อกวางลงพื้นแล้วเทขี้เลื่อยลงในบล็อก กวาดให้เรียบ เอาทะลายปาล์มวางลงให้เต็มบล็อกรดน้ำให้เปียก โรยเชื้อเห็ดให้ทั่วเสร็จแล้วใช้น้ำรดให้ทั่วประมาณ 1 บัวรดน้ำ เอาพลาสติกคลุมให้ติดพื้น จากนั้นอีกประมาณ 8-10 วัน ให้ทำโครงไม้ไผ่สูงประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้พลาสติกติดกองเห็ด ต่อมาประมาณ 2-3 วัน ก็เก็บดอกเห็ดได้ จากวันเพาะจนถึงวันเก็บประมาณ 10-20 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ ถ้าฝนตกมากดอกเห็ดจะเกิดช้ากว่าประมาณ 2-5 วัน
การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ก้อนเห็ดถุงที่เก็บผลผลิตหมดแล้ว
1.เตรียมสถานที่ เตรียมดินให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก จากนั้นฉีดน้ำลงบนดินให้เปียกชุ่มทิ้งไว้ 1 คืน
2.แช่ฟางข้าว ถ้าเป็นปลายฟางควรแช่ไว้ประมาณ 1 คืน หรือฉีดน้ำบนกองฟาง
แล้วเหยียบให้เปียกชื้นแล้วใช้พลาสติกคลุมไว้ 1 คืน
แล้วเหยียบให้เปียกชื้นแล้วใช้พลาสติกคลุมไว้ 1 คืน
3.นำก้อนเห็ดที่เตรียมไว้มาใส่ใน แบบไม้โดยวางแบบไม้ด้านกว้างลงบนพื้นดิน แล้วนำก้อนเห็ดมาเรียงใน แบบให้ปากถุงชนกับด้านข้างของแบบไม้ส่วนกว้าง เรียงจนเต็ม ใช้มีดโต้สับถุงเห็ดให้ขาดพอประมาณ
4.หลังจากสับถุงแตกหมดแล้วนำฟาง ที่แช่ไว้มาวางทับลงบนถุงเห็ดเพียงบางๆหนาประมาณ 1 เซนติเมตร โดยวางให้ติดขอบกระบะ
5.นำอาหารเสริมคือ ไส้นุ่นหรือผักตบชวาตากแห้ง แช่น้ำให้ชุ่มแล้วนำมาโรยบนกองเพาะจากขอบเข้าไปประมาณ 2 นิ้วโดยรอบ แล้วโรยน้ำลงบนกองเพาะประมาณครึ่งบัวรดน้ำ
6.นำเชื้อเห็ดฟางที่ยีแล้วโรยบนกองเพาะ โดยโรยเฉพาะเพียงขอบกอง เป็นอันเสร็จชั้นที่ 1
7.ทำแบบเดียวกับข้อ 3-6 เป็นชั้นที่ 2และ3 แล้วนำแบบออกเป็นอันเสร็จ 1 กอง เริ่มทำกองใหม่โดยเว้นระยะห่างกัน 6 นิ้ว ในฤดูร้อนและฤดูฝนควรห่างประมาณ 10-20 นิ้ว ทำต่อไปประมาณ 8 กอง หรือแล้วแต่ความเหมาะสม ระหว่างกองควรพรวนดินและโรยเชื้อเห็ดด้วย (2 กองใช้เชื้อเห็ดฟาง 3 ถุง)
8.เมื่อทำเสร็จ 1 แปลงหรือ 8 กองรดน้ำอีกครั้ง แล้วนำพลาสติกคลุมแปลงเพาะ แล้วคลุมด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งอีกครั้งเพื่อป้องกันแสงแดด
9.การดูแลรักษากองเพาะ
- ในช่วงเวลา 3 วันแรกไม่ต้องทำอะไรกับกองเพาะเลย เพียงแต่คอยระวังอย่าให้ไก่หรือสัตว์อื่นๆเข้าไปรบกวนกองเห็ด
- วันที่ 4 ตอนเช้าให้เปิดกองเพาะทั้งสองข้างขึ้น ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงปิด หลังจากนั้นเปิดพลาสติกตรงกลางออกกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ประมาณ 10 นาที แล้วจึงคลุมเหมือนเดิม การเปิดพลาสติกออกเพื่อเป็นการระบายความร้อน
- ในวันที่ 5-7 ช่วงเช้าและเย็นควรเปิดออกเพื่อเป็นการระบายความร้อน แต่ถ้าดินแห้งควรเอาน้ำรดบริเวณที่แห้ง ไม่ควรให้กระทบกระเทือนดอกเห็ด 9.4 ถ้าดอกเห็ดโตพอประมาณควรเก็บได้ ไม่ควรปล่อยไว้ให้ดอกบานจะเสียราคา
10.การเก็บดอกเห็ด จะเก็บได้หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 7 วัน ขึ้นอยู่กับความร้อนและฤดูกาล ในฤดูร้อนและฝนดอกเห็ดจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เห็ดจะออกดีในเดือนมีนาคม - กรกฎาคม
11.วิธีเก็บให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้เก็บดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อย ยกขึ้นเบาๆดอกเห็ดก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ถ้าดอกเห็ดออกเป็นกลุ่มให้สังเกตว่าในกลุ่มนั้นมีดอกโต พอประมาณที่จะเก็บได้มากกว่าก็ควรเก็บได้ทั้งกลุ่มเลย และไม่ควรให้กระทบกระเทือนดอกเห็ดที่ยังเก็บไม่ได้ เพราะอาจทำให้เห็ดดอกอื่นช้ำและฝ่อได้ สำหรับผลผลิตต่อกองเฉลี่ยแล้วกองละประมาณ 500 กรัมขึ้นไป
Credit : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Credit : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น