การเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ



ธรรมชาติของเห็ดเป๋าฮื้อ

มักขึ้นอยู่บนต้นไม้ที่ผุพังแล้ว ลักษณะของดอกเห็ดไม่ค่อยจะเป็นรูปทรงที่แน่นอน แต่มีลักษณะคล้ายเห็ดนางรม
เนื่องจากเห็ดเป๋าฮื้อเป็นเห็ดที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับเห็ดหอม จึงมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงมาก จะต่างกันก็ที่ดอกใหญ่และหายากกว่า สีดอกระยะแรกจะมีสีค่อนข้างคล้ำจนดำเมื่ออายุมากขึ้นจะค่อย จางลง
และเป็นสีน้ำตาลอ่อนเมื่อแก่จัด ตามปกติจะขึ้นได้ดีในฤดูหนาว แต่เนื่องจากเห็ดเป๋าฮื้อมีการปรับตัวต่ออุณหภูมิได้ค่อนข้างสูง ฉะนั้น ในปัจจุบันจึงสามารถที่นะเพาะเห็ดเป๋าฮื้อได้ผลดีทุกฤดูกาล ในทุกภาคของประเทศไทย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเห็ดเป๋าฮื้อ

1. แสงสว่างแม้ว่าเห็ดเป๋าฮื้อจะไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างในการปรุงอาหาร
แต่แสงสว่างมีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้เห็ดออกดอก โดยเฉพาะการเจริญของหมากดอก
แต่ถ้าแสงน้อยหรือไม่มีแสงจะกระตุ้นการเจริญของก้านดอก นอกจากนี้ถ้าเห็ดเป๋าฮื้อเจริญในที่มืด หมวดดอกจะมีสีเข้ม
แต่ถ้าเห็ดเป๋าฮื้อเจริญเติบโตในแสงสว่าง หมวกดอกจะมีสีจางลง

2. ความชื้นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดเป๋าฮื้อมาก เห็ดพวกนี้ต้องการความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงมาก จึงจำเป็นต้องเพาะในโรงเรือนเพาะเห็ด
ความชื้นภายในโรงเรียนที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 90-95 เปอร์เซ็นต์ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้ดอกเห็ดมีขนาด ใหญ่และมีน้ำหนักมาก

3.อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ เห็ดเป๋าฮื้อควรอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 36 องศาเซลเซียส เห็ดจะไม่ออกดอกหรือดอกที่ออกจะมีลักษณะ แคระแกรนมีรูปร่างผิดปกติ

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ

1. การผลิตก้อนเชื้อโดยใช้ฟางหมัก
  • นำฟางที่สับเรียบร้อยแล้ว(ยาว 2-8 นิ้ว) มาแช่น้ำหรือรดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่ฟางสะเด็ดน้ำแล้ว นำมาผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ตามสูตร โดยหมักเป็นกองสูงแล้วคลุมด้วยพลาสติก หลังจากหมักได้ 3 วัน รอบ
กองฟางจะแห้ง ให้ใช้บัว รดน้ำรอบ ขอบกองฟางจากนั้นให้พลิกกองปุ๋ยหมัก ตีก้อนปุ้ยให้แตกแล้วนำมาคลุกกับปูนขาว หมักต่ออีก 3 วัน เมื่อครบ 3 วันแล้ว ให้พลิกกองปุ๋ยหมัก และให้หมักต่อเป็นรูปเจดีย์ โดยกองแบบหลวม
เพื่อให้อากาศถ่ายเทให้มากที่สุด ทิ้งไว้ 1 วัน วันรุ่งขึ้นให้ผสมรำข้าง เสร็จแล้วให้บรรจุถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด
ควรจัดใส่ถุงให้หมดภายในวันนั้น และควรนำก้อนเชื้อไปนึ่งในหม้อนึ่งลูกทุ่งทันทีเพราะถ้าทิ้งไว้นาน
จะเกิดการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง เพิ่มมากขึ้น ยากต่อการกำจัด ซึ่งในภายหลังจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ในขั้นตอนการออกดอกได้
  • นำฟางแช่ในท่อปูนโดยย่ำให้ฟางจมน้ำ และนุ่น แล้วนำมากองเกลี่ยให้เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร บนพื้นปูน โรยฟางหนาประมาณ 3-4 นิ้ว หว่านปุ๋ยหรือแอมโมเนียซัลเฟต และโรยฟางสลับกันจนหมดฟางและปุ๋ยโดยกำหนดฟาง และปุ๋ย โดยกำหนดฟางและปุ๋ยให้พอดี ปุ๋ยจะกระจายทั่วกองฟาง กองฟางจะอยู่ในลักษณะทรายคว่ำสูงประมาณ 1.2-1.5 เมตร
เอาผ้าพลาสติกคลุมให้มิดชิดทิ้งไว้ 3 วัน แล้วให้กลับกองฟางครั้งที่สองพร้อมกับใส่ปูนขาวแล้วใช้ ผ้าพลาสติกคลุมไว้ตามเดิมทิ้งไว้อีก 3 วันให้กลับกองฟางใส่รำแล้วบรรจุลงเพาะเห็ดตามกรรมวิธีการ เพาะเห็ดทั่วไปแล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนใส่เชื้อเห็ดลงไป

สูตรที่ใช้ในการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
การผลิตก้อนเชื้อจากฟางข้าว
  • สูตร 1
ฟางเส้น(ยาว 4-6 นิ้ว) 100 กิโลกรัม
ยูเรีย(แอมโมเนียนซัลเฟต 2
กิโลกรัม) 1 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม ปุ๋ยดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต 1กิโลกรัม
รำละเอียด 3 กิโลกรัม
  • สูตร 2
ฟางเส้น 100 กิโลกรัม
ปุ๋ยนา(สูตร 16-20-0 หรือ 18-20-0 หรือ20-20-0) 2 กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
รำละเอียด 3 กิโลกรัม
  • สูตร 3
ฟางเส้น 100 กิโลกรัม
ยูเรีย(คลุกกับฟาง) 2 กิโลกรัม
ดีเกลือ(ใส่เมื่อกลับกองครั้งที่ 1 ) 1.2 กิโลกรัม
หินปูนหรือปูนขาว 0.5กิโลกรัม
น้ำ(ใส่เมื่อกลับกองครั้งที่ 2 ) 140-170กิโลกรัม
  • สูตร 4
ฟางเส้น 100 กิโลกรัม
ยูเรีย(คลุกกับฟาง) 1 กิโลกรัม
ส่าเหล้า(คลุกกับฟาง) 0.5 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
หินปูนหรือปูนขาว0.5 กิโลกรัม
น้ำ 140-170กิโลกรัม
การผลิตก้อนเชื้อจากขี้เลื่อย
  • สูตร 5
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา100 กิโลกรัม
รำละเอียด 5-15 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัม
ดีเกลือ0.3-0.4 กิโลกรัม
น้ำ พอประมาณ

กรรมวิธีการผลิตก้อนเชื้อ
การอัดถุงทำเหมือนกรรมวิธีการการผลิตเชื้อทั่วไป ในการใช้รำผสมตามปกติยิ่งมากผลผลิตก็สูงตามไปด้วย
แต่อัตราความเสียหายเนื่องจากเชื้ออื่นปะปนก็สูงตามไปด้วย ผู้เพาะเห็ดบางรายอาจใช้รำหรือข้าวโพดป่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรืออาจใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันในส่วนผสมขึ้นอยู่ กับสภาพของท้องถิ่นและราคาของวัตถุดิบ (ดูรายละเอียดขั้นตอน การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก)

การผลิตก้อนเชื้อจากซังข้าวโพด

ถ้าใช้ละอองซ้งข้าวโพดที่ได้จากการสีข้าวโพด ให้มาผสมกับน้ำจนมีความชื้นเหมาะสมแล้วบรรจุถุง ได้เลยไม่ต้องใช้เป็นอาหารเสริม โดยใช้ละอองซังข้าวโพด 100 กิโลกรัม ผสมกับน้ำประมาณ 100 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นซ้งข้าวโพด
ให้นำไปป่นด้วยเครื่องบดแกลบ โดยตั้งเครื่องบดให้ออกมาหยาบหน่อยหรือจะใช้เครื่องบดเม็ดข้าวโพด ก็ได้แล้วนำมาเพาะเห็ดคล้ายกับขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ต้องไม่ใส่รำให้ใช้ซังข้าวโพด 100 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 100 กิโลกรัม
คลุกให้เข้ากัน แล้วกองเป็นรูปสามเหลี่ยม คลุมด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 3 วันเพื่อให้ซังข้าวโพดนิ่มก่อน แล้วจึงบรรจุถุงพลาสติกทนร้อน และนำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง ทิ้งให้เย็นก่อนใส่เชื้อเห็ดลงไป

การบ่มก้อนเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อ

หลังจากใส่เชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำถุงก้อน เชื้อไปบ่มในโรงบ่มเชื้อให้เป็นชั้นเดียวในลักษณะ ตั้งหรืออาจจะวางนอนซ้อนกันเป็นชั้นๆ ก็ได้ ระยะในการบ่มเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อจะใช้ประมาณ 30-45 วันเชื้อจึงจะเจริญเต็มถุง อุณหภูมิที่เหมาะต่อการบ่มเชื้อประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้เชื้อจะเจริญช้า
ในขณะที่บ่มเชื้อปัญหาที่สำคัญคือโรดและแมลงศัตรูเห็ดอาจเข้าทำลาย ก้อนเชื้อได้โดยเฉพาะพวกไรและแมลงบางชนิด
ดังนั้น จึงควรฉีดยาป้องกันโรดและแมลงศัตรูเห็ด เช่น เซฟวิน 85 ฯลฯ คลุมทับถุงเชื้อเอาไว้
ถ้าโรงเรือนสะอาดการฉีดยาคลุมทับลงบนถุงเห็ดก็ไม่จำเป็นมากนัก

การทำให้เห็ดเกิดดอก

หลังจากที่เชื้อเจริญเต็มถุงแล้ว ในการทำให้เกิด ดอกเห็ด ผู้เพาะเห็ดควรใช้วิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ดูรายละเอียดขั้นตอน การเปิดดอกเห็ดเป๋าฮื้อ)

1.การวางก้อนเชื้อนอนแล้วเปิดจุกสำลีให้เห็ด ออกตรงคอขวดวิธีการนี้ประหยัดพื้นที่ในการวางก้อนเชื้อ
เพราะสามารถวางซ้อนกันได้หลายชั้นหรืออาจ จะใช้วิธีมัดเป็นพวงแทนในลักษณะนอนก็ได้วิธีการวางก้อน เชื้อแบบนอนเหมาะสำหรับวัสดุที่ใช้เพาะ พวกขี้เลื่อยและซังข้าวโพดแต่วิธีการนี้ไม่สามารถคลุมผิวหน้า(casing)
ของถุงเห็ดได้

2. การวางถุงตั้งจะวางติดกันเป็นแบบหน้ากระดานโดย ให้ดอกเห็ดดอกแรกออกมาทางคอขวด
แต่ดอกเห็ดจะมีปัญหาหักตรงโคนได้ง่าย หลังจากเก็บดอกเห็ดรุ่นต่อไป ก็คือการคลุมดินหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
ซึ่งจะช่วยให้ก้อนเชื้อไม่แพงเกินไป และมีความชื้นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ดินที่ใช้ต้องสะอาดและมีลักษณะดังนี้

- ดินที่ปราศจากอินทรีย์วัตถุ เพราะอาจมีจุลินทรีย์เจริญลุกลามลงในถุงได้ โดยให้ขุดลอกผิวดินออกประมาณ
15 ซม. จากนั้นให้ขุดดินที่อยู่ลึกลงไป นำไปใช้คลุมผิวหน้าก้อนเชื้อได้

- ดินร่วนปนทราย เพราะเมื่อรดน้ำจะไม่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง โดยนำดินมาทำให้ละเอียดพอสมควรเสียก่อน

- ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ก่อนใช้ควรผสมหินปูน 2-3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักดินแห้งหรือจะใช้ปูนขาวประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ก็ได้

-ดินที่ใช้ต้องปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ แมลงและไส้เดือนฝอย ถ้านึ่งฆ่าเชื้อก่อนนำมาใช้ได้ยิ่งดี หลังจากคลุมดินแล้วรด น้ำบนดินพอหมาดๆ อย่าให้เปียกมากเกินไป (ให้รักษาความชื้นแบบนี้ไปเรื่อย ) ประมาณ 5-7 วัน เส้นใยจะรวมตัวเป็นตุ่มเห็ดเล็ก จากนั้นจะขยายใหญ่และเจริญเป็นดอกเห็ดภายใน 3-4 วัน

ประโยชน์ของการใช้ดินคลุมก้อนเชื้อเห็ด

1.ดินจะช่วยอมความชื้นไว้ได้ดี ช่วยให้ดอกเห็ดเล็ก ที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่ฝ่อ

2. ดินจะช่วยยึดฐานดอกไม่ให้เห็ดล้มได้ง่าย และช่วยบังคับไม่ให้ก้านดอกยาวมากเกินไป

3. ช่วยป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในอากาศไปทำลายก้อนเชื้อเห็ด

4.การคลุมผิวหน้าดินทำให้ก้อนเชื้อได้รับอากาศน้อยลง จึงทำให้ดอกเห็ดเล็ก ไม่เจริญและอาหารจะถูกสะสม ไว้ในก้อนเชื้อมากซึ่งช่วยให้เห็ดเกิดรุ่นต่อไปสมบูรณ์

ปัญหาในการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ

1. เส้นใยเดินไม่เต็มถุงเหตุเพราะอุณหภูมิสูงหรือมี เชื้อจุลินทรีย์อื่นเจริญแทรก แก้โดยอาจเพิ่มเวลานึ่งก้อนเชื้ออีกประมาณ 1 ชั่วโมง

2.ดอกเห็ดแห้งฝ่อเพราะความชื้นไม่พอ ควรรดน้ำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน

3.มีหนอนทำลายเชื้อเห็ด เป็นเพราะสำลีอุดจุกพื้นและ ไม่มีกระดาษหุ้มสำลีไว้ทำให้แมลงวันวางไข่ไว้

4. ไรทำลายเชื้อเห็ด ควรให้โรงบ่มอยู่ห่างจากวัสดุหมัก

5. เชื้อเห็ดเจริญแล้วหยุดส่วนที่เชื้อไม่เดินจะมีสีคล้ำ กว่าปกติเป็นเพราะวัสดุหมักผสมเปียกเกินไป

6.เชื้อราที่ขึ้นปะปนในก้อนเชื้อเกินทั่วไปไม่แน่นอน เหตุเพราะมดแดงตัวเล็กๆ หรือ แมลงกัดบริเวณข้างถุงพร้อมกับนำเชื้อราอื่น เข้าไปควรรักษาโรงเรือนให้สะอาดและฉีดยาฆ่าแมลงป้องกัน

Credit : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น