เริ่มต้นเพาะเห็ดอย่างไร ?







การเพาะเห็ดต้องการอาศัยการเรียนรู้ทั้งจากการอ่าน การดูงานการพูดคุยจากผู้มีประสบการณ์ที่เคยเพาะเห็ดมากก่อน แล้วนำมาวิเคราะห์ดู อย่าด่วนเชื่อหรือด่วนสรุป ว่าง่ายและเหมาะกับ ตัวเรา อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน ต้องเอาใจใส่ดูแล สังเกต และที่สำคัญต้องรักษาความสะอาดเป็นอย่างมาก เพราะความสะอาดเป็นหัวใจของการเพาะเห็ดเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปสำหรับคนที่รักและตั้งใจ เรามาลองดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างในการเริ่มต้นเพาะเห็ด


1.การเลือกชนิดของเห็ดที่ต้องการผลิต ซึ่งจะเป็นจุดสำคัญที่สุดที่จะเริ่มต้นในการผลิตเห็ด ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด

2.สถานที่ตั้งฟาร์ม จะต้องไม่อยู่ห่าง จากตลาดหรือแหล่งรับซื้อ การคมนาคมสะดวก

3.ภูมิประเทศ /ภูมิอากาศ เพราะเห็ดแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันกันออกไป ประสบความสำเร็จแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะบางรายก็ล้มเหลว ซึ่งอาจเกิดจากการถูกหลอกขายก้อนเชื้อเห็ดในราคาสูง โดยที่ไม่ให้ข้อมูลอื่น มาประกอบ

4.ความยากง่ายในการจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการเพาะเห็ดเพราะวัสดุเพาะ เห็ดที่ใช้กันเป็นส่วนมากได้แก่ขี้เลื่อย ไม้ยางพารามีราคาสูงขึ้นมากและทางโรงเลื่อยได้ปรับเปลี่ยนมาเลื่อยไม้อื่น ด้วยนอกเหนือจากไม้ยางพาราทำให้ขี้เลื่อยที่ได้ปนกัน ซึ่งเป็นผล ทำให้การผลิตก้อนเห็ดมีปัญหาได้

5.แรงงานและค่าแรงงาน เนื่องจากการผลิตก้อนเห็ดจะต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก จึงต้องพิจารณาถึงปัญหาแรงงานด้วย

6.ความเอาใจใส่และเวลาในการดูแลรักษาโรงเรือน การบังคับให้ออกดอก การให้น้ำและการเก็บดอก ซึ่งจะต้องดูแลต่อเนื่อง การเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่เรียกว่า "ลืมญาติ" ได้เลยเพราะจะต้องดูแลเอาใจใส่ทุกวันเพราะเห็ดต้องเก็บดอกขายทุกวัน ไม่เช่นนั้นจะคุณภาพของดอกเห็ดที่ได้จะด้อยลง

7.ราคาวัตถุดิบในการผลิตเห็ดซึ่งต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เช่น ราคาก้อนเห็ดต้องเหมาะสมกับราคาขาย ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการคืนทุนและระยะเวลาในการทำกำไรด้วย

8.การกำจัดก้อนเสียและก้อนเก่าที่หมดอายุแล้ว เพราะเป็นแหล่งเกิดโรคและแมลงทำลายก้อนเชื้อเห็ดได้

9.เงินลงทุน จะต้องพิจารณาเป็นอันดับต้น ของการประกอบอาชีพทุกอาชีพ ซึ่งการเพาะเห็ดก็เช่นกัน หากมีเงินทุนไม่มากก็ไม่ควรผลิตก้อนเชื้อเห็ดเอง เพราะต้องใช้เงินทุนมากขึ้นกว่าการซื้อก้อนสำเร็จมาเปิดดอก ซึ่งลงทุนเพียงโรงเรือนเปิดดอกและก้อนเชื้อเห็ดเท่านั้น

10.ระบบบัญชี เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเห็ดเป็นอาชีพที่เกิดรายได้ทุกวัน เพราะฉะนั้นจะต้องมีการจดบันทึกการรับและจ่ายเงินทุกวันอย่างละเอียด ควรจดจำนวนผลผลิตที่ได้ในแต่ละวันด้วยเพื่อใช้ในการวิเคราะห์การลงทุน 


สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นกับการเพาะเห็ดไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรืองานอดิเรกในครอบครัว ควรเริ่มจากการสร้างโรงเรือนเปิดดอกแล้วนำก้อนเชื้อเห็ดสำเร็จรูปมาเปิดดอก เพื่อฝึกฝนการดูแลเอาใจใส่ การเก็บดอก การให้น้ำและเป็นการทดลองตลาดไปก่อน หากมีแนวโน้มที่ดีควรที่จะเริ่มต้นผลิตก้อนเชื้อเองโดยเข้ารับการ อบรมหรือสอบถามจากผู้มีประสบการณ์ ในการผลิตก้อนเชื้อซึ่งจุดนี้จะต้องลงทุนในการสร้างเตานึ่งก้อนเห็ด การจัดการวัตถุดิบชนิดต่าง และเวลาในการจัดการบริหารวัตถุดิบและแรงงานที่มากขึ้น ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ประสบการณ์พอสมควร หากต้องการทำให้ครบวงจรควรผลิตหัวเชื้อวุ้นและหัวเชื้อข้าวฟ่างเอง ซึ่งจะต้องลงทุนสูงและมีประสบการณ์มากขึ้นเสียก่อน..
Credit : Khaomak

เห็ดนางฟ้า-ภูฎาน...เริ่มอย่างไร?




เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย

คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย


ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer

เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี .. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี .. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี .. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี

อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก

ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้
วงจรชีวิตของเห็ดนางฟ้าก็เป็นแบบเห็ดทำลายไม้ทั่ว ไป คือมีชีวิตอยู่ข้ามฤดูอัตคัด ด้วยคลามีโดสปอร์ในท่อนไม้ พอถึงฤดูชุ่มชื้นก็งอกออกมาเป็นเส้นใย แล้วสร้างดอกเห็ดขึ้น ปล่อยสปอร์ลอยไป สปอร์งอกเป็นเส้นใยแล้วเจริญไปบนอาหารจนสร้างดอหเห็ดอีก วนเวียนไปอย่างนี้

เห็ดนางฟ้าเติบโตดีที่ pH. 5 - 5.2 (คือเป็นกรดเล็กน้อย) อุณหภูมิที่เหมาะมากต่อเส้นใยคือ 32 องศาเซลเซียส และสร้างดอกเห็ดได้ดีที่ 25 องศาเซลเซียส เส้นใยสีขาวจัด มีความสามารถเชื่อมต่อเส้นใยได้ดี ใช้น้ำตาลในแง่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตได้ดีกว่าพวก โพลีแซคคาไรค์ หรืออาหารซับซ้อน

วิธีการเพาะ
การเพาะเห็ดนางฟ้ามีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1) การผลิตเชื้อวุ้น
2)การทำหัวเชื้อเห็ด
3)การผลิตเชื้อถุงหรือก้อนเชื้อ ดูรายละเอียดที่ การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
4)การเพาะให้เกิดเป็นดอกเห็ด การลงทุนจะมากในขั้นตอนที่ 1 - 3 ส่วนขั้นที่ 4 คือการผลิตดอกเห็ด จะทำขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้ ไม่ต้องลงทุนมาก หรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และที่วางอยู่มาใช้ได้ และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทำครบทุกขั้นตอนเลยก็ได้ หรืออาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่น จะทำเฉพาะหัวเชื้อเห็ด โดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออก รดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้ ซึ่งระบบการตั้งฟาร์มเห็ด ได้รับการแนะนำให้ทำเป็นขั้น ดังต่อไปนี้

1. เริ่มเรียนรู้วิธีการกินเห็ด เราจะทำธุรกิจเห็ดต้องกินเห็ดเก่ง ต้องปรุงอาหารจากเห็ดหลายชนิด ทำให้อร่อยด้วย สามารถแนะนำผู้ซื้อเห็ดไปปรุงเองได้อย่างมั่นใจ เช่นนี้ทำให้เราพร้อมต่อการขายเห็ด

2. ผลิตดอกเห็ดขาย 90% ของฟาร์มเห็ดที่ทำอยู่เริ่มจากวิธีนี้ โดยทำโรงเรือนขนาดย่อมๆ เพื่อใช้เพาะเอาดอกเห็ด ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มมาผลิตดอก โดยหาความชำนานและความรู้ไปเรื่อยๆ จนเชี่ยวชาญ ขั้นนี้อย่าเพิ่งลงทุนทำถุงเชื้อเอง ให้ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มที่ทำขายดีกว่า เริ่มจากน้อยๆ ทยอยทำ ได้เห็ดมาก็นำไปขายตลาด ขายเองหรือส่งแม่ค้าก็ได้ ขยายตลาดดอกเห็ดเพิ่มมากขึ้นไปเป็นลำดับ จนตลาดใหญ่ขึ้นและสม่ำเสมอดีแล้วจึงคิดผลิตถุงเชื้อ แต่ถ้าตลาดไปไม่ได้ก็หยุดแค่นั้น ไม่ขาดทุนมาก

3. ผลิตถุงเชื้อเห็ด ถ้าตลาดรับซื้อเห็ดและถุงเชื้อมากพอ จึงตั้งหน่วยผลิตถุงเชื้อได้ แต่ถ้าคำนวณว่าซื้อถุงถูกกว่าผลิตเองก็ไม่ควรทำ ควรไปดูฟาร์มทำถุงเชื้อหลาย ฟาร์ม แล้วมาคำนวณว่าเครื่องมือและวิธีการแบบใดดีที่สุด เตรียมการเอาคนคุมงานไปฝึกงานในฟาร์ม หรือติดต่อจ้างคนชำนาญในฟาร์มเก่ามาทำฟาร์มใหม่ ขั้นตอนนี้ก็ควรซื้อเชื้อข้าวฟ่าง ยังไม่ควรทำเอง การลงทุนขนาดเล็กจะใช้หม้อต้มไอน้ำต่างหาก (สตีมเม่อร์) แล้วต่อท่อมาอบถุงขี้เลื่อยในอีกหม้อต่างหาก ถ้างานนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นสมควร แล้วค่อยผลิตเชื้อข้างฟ่างและซื้อวุ้นต่อไป

4. ผลิตเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่าง เริ่มทำเมื่องานฟาร์มมีขนาดใหญ่มาก สำหรับระยะ 1 - 2 ปี ที่ผ่านมานั้นถ้ายังไม่ทำเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่างมาก่อน ก็ไม่ควรทำขึ้นใหม่ มีผู้ทำขายมากอยู่แล้ว ซื้อเขาใช้ดีกว่า นอกจากจะห่างไกลซื้อยากจริงๆ แล้วต้องใช้มากจึงค่อยทำ

Credit : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

เห็ดนางรม-ฮังการี






ธรรมชาติของเห็ดนางรม
เห็ดนางรมในธรรมชาติจะเจริญบนไม้ที่มีชีวิต
และเมื่อต้นไม้ตายเห็ดนางรมก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก
เห็ดนางรมจะเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดเล็กน้อย
หรือมี pH 6.5-6.8 ฉะนั้น ในการผสมขี้เลื่อยหรือวัสดุที่ใช้ เพาะจึงไม่จำเป็นต้องใส่ปูนขาวลงไป
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของเส้นใยเห็ดนางรมประมาณ 30-32
องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่เหมาะต่อการออกดอกของเห็ดประมาณ 25 องศาเซลเซียส

ส่วนประกอบของเห็ดนางรม
หมวกดอกมีลักษณะคล้ายหอยนางรม
หมวกดอกมีลักษณะแบนราบไม่เหมือนเห็ดฟาง กลางหมวกดอกมีลักษณะเป็นแอ่ง
หมวกดอกอาจมีสีขาวหรือสีเทาก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
และลักษณะของหมวกดอกอาจเป็นเนื้อเดียวกับก้านดอก ก้านดอก
เป็นส่วนที่ใช้ชูดอกขึ้นไปในอากาศ ก้านดอกค่อนข้างจะสั้น
และเจริญเข้าหาแสงสว่าง ครีบดอก มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆสีขาวหรือสีเทา
ที่บริเวณครีบดอกเป็นแหล่งสร้างสปอร์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรม
1.แสงสว่าง มีผลต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของดอกเห็ดมากเพราะแสงจะช่วยกระตุ้นในการรวมตัวของเส้น ใยและการพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ ถ้าได้รับแสงน้อยจะทำให้หมวกดอกมีขนาดเล็กลงและก้านดอกยาวขึ้นและถ้าแสงน้อยมากๆจะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติไปดังนั้นในการเพาะเห็ดนางรมควรให้เห็ดได้รับแสงอย่างน้อย 15-20 นาทีต่อวัน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามปกติจะมีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรมแต่ในระยะที่เห็ดพัฒนาเป็นดอก
ถ้ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงก็จะทำให้ดอกเห็ดผิดปกติได้ดังนั้นควรทำให้โรงเรือนมีอากาศถ่ายเทได้บ้าง
3. ความชื้นของอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรมอย่างมากโดยเฉพาะ ระยะเปิดดอกเห็ดนางรมต้องการความชื้นค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 %จึงควรรดน้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน 
4. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดนางรมอย่างมากเห็ดนางรมจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอุณหภูมิ 24-33 องศาเซลเซียสจากการศึกษาพบว่าถ้าก้อนเชื้อได้ผ่านอุณหภูมิต่ำประมาณ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 18-21 วัน ก่อนนำมาเปิดดอกที่อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียสจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางรม
ในการเพาะเห็ดนางรมในถุงพลาสติกนั้น ผู้ผลิตสามารถนำเอาวัสดุเหลือ ใช้ในท้องถิ่นมาใช้ในการเพาะเห็ดได้ เช่น
ฟางข้าวสับ ซังข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะสามารถหาได้ง่าย
สะดวกในการบรรจุ และสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการหมัก
สำหรับสูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมนั้นมีหลายสูตร คือ
สูตร 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %
สูตร 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 3-5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %
สูตร 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ส่วนโดยปริมาตร รำละเอียด 8 ส่วนโดยปริมาตร แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 2-3 ส่วนโดยปริมาตร กากถั่ว 2 ส่วนโดยปริมาตร หินปูน 2-3 ส่วนโดยปริมาตร น้ำสะอาด 70-75 %

หมายเหตุ ในการเลือกใช้สูตรต่างๆนั้นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตด้วย การเพิ่มปริมาณของอาหารเสริมมากๆนั้น ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มผลผลิตก็ตาม แต่โอกาสที่ก้อนเชื้อจะเสียหายหรือ ถูกทำลายจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นก็มีมากเช่นกัน


ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ

1. นำส่วนผสมต่างๆมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

2. เติมน้ำลงไปผสม ควรผสมให้ความชื้นกระจายให้ทั่วสม่ำเสมอ ทดสอบให้ได้ความชื้นประมาณ 65-75 % โดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดู ถ้ามีน้ำซึมออกมาแสดงว่าชื้นเกินไปให้เติมขี้เลื่อยลงไป
ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือออก ส่วนผสมจะจับกันเป็นก้อนและแตกออก 2-3 ส่วนแสดงว่าใช้ได้

3. บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด ถุงละประมาณ 8-10 ขีด อัดให้แน่นพอประมาณใส่คอขวดพลาสติก หุ้มด้วยสำลีและกระดาษ

4. นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (น้ำเดือด)นาน 3-4 ชั่วโมง

5. หลังจากนึ่งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่เชื้อลงไป นำก้อนเชื้อไปบ่มในที่มืดและอุณหภูมิสูงประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุงประมาณ 3-4 สัปดาห์

6. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง เพื่อให้เส้นใยสะสมอาหารและพร้อมจะ เจริญเป็นดอกเห็ดแล้วนำไปเปิดดอกในโรงเรือนต่อไป ดูรายละเอียด การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ดนางรม
ทำได้ 4 วิธี คือ
1. การเปิดปากถุงโดยการม้วนปากถุงลง โดยการดึงคอขวดออก พร้อมกับม้วนปากถุงลงไปจนถึงก้อนเชื้อ แล้วนำไปวางบนชั้นภายในโรงเรือน ข้อเสียของการเปิดถุงโดยวิธีนี้คือ โอกาสที่น้ำจะขังในถุงและทำให้ก้อนเชื้อเสียมีมาก

2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดปาดปากถุงบริเวณคอขวดออก แล้วนำไปวางบนชั้นเพาะเห็ด วิธีนี้มีข้อเสียคล้ายกับวิธีแรก


3. การกรีดปากถุงโดยใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงเป็น 4 แนว แล้วนำไปวางตั้งหรือแขวนในแนวตั้ง ข้อเสีย คือ เปลืองเนื้อที่ในการวางก้อนเชื้อ

4. ดึงจุกสำลีออกแล้วนำก้อนเชื้อมาวางเรียงซ้อนกันภายในโรงเรือน ให้เห็ดเจริญออกมาทางปากถุงทางเดียว เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะประหยัดเนื้อที่ภายในโรงเรือนและน้ำไม่ขังในก้อนเชื้อ ดูรายละเอียด การเปิดดอกเห็ดนางรม-ฮังการี

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางรม
1. เส้นใยไม่เดินลงถุงก้อนขี้เลื่อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ คือ
-หัวเชื้อเห็ดเป็นเชื้ออ่อน หรือเชื้อเห็ดนั้นผ่านการแต่งเชื้อมาหลายครั้งแล้ว ทำให้เส้นใยอ่อนแอ
- หัวเชื้อเห็ดมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปลอมปน และเจริญแข่งกับเส้นใยเห็ด
- วัสดุที่ใช้เพาะมีสารเคมีที่เป็น อันตรายต่อเห็ดโดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อรา ผู้เพาะควรเลือกวัสดุเพาะที่ปราศจาสารเคมีดังกล่าว
- สภาพความเป็นกรด-ด่าง(pH) ควรปรับให้อยู่ระหว่าง 6.5-6.8 จะช่วยให้เส้นใยเห็ดนางรมเจริญดีขึ้น
- ส่วนผสมมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ในขณะที่สภาพดังกล่าวจะเหมาะต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย

2. เส้นใยเดินบางมาก และเมื่อนำไปเพาะจะไม่ค่อยเกิดดอกหรือให้ผลผลิตน้อยมาก อาจมีสาเหตุจาก
- วัสดุที่ใช้เพาะสลายตัวเกือบหมดแล้ว ทำให้อาหารเหลืออยู่น้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย หรือใส่อาหารเสริมน้อยเกินไป ดังนั้นจึงควรใส่อาหารเสริมในอัตราส่วนที่เหมาะสม
- การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ดีพอ ทำให้จุลินทรีย์อื่นๆเจริญเติบโตแข่งกับเห็ดได้ ดังนั้นการนึ่งก้อนเชื้อควรใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด

3. เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ถุงก้อนเชื้อมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดี แล้วเชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตได้
- เชื้อเห็ดอ่อนแอ เมื่อเจริญได้ระยะหนึ่งแล้วก็ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นควรเลือกเชื้อที่แข็งแรง

4. เห็ดออกดอกช้าหลังจากเปิดถุงแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
- เกิดจากการเปิดปากถุงเร็วเกินไป หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้ว ควรปล่อยให้เส้นใยรัดตัวและมีการสะสมอาหารก่อนเปิดถุงประมาณ 8-10 วัน
- การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนไม่ดี ทำให้มีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง
- อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงหรือต่ำเกินไปหรือความชื้นไม่เพียงพอทำให้การพัฒนาของเส้นใยไปเป็นดอกเห็ดช้า

5. ดอกเห็ดไม่พัฒนาเจริญเป็นดอกเห็ด ในการเพาะเห็ดบางครั้งมีดอกเห็ด เจริญเป็นดอกเล็กๆบนก้อนเชื้อเต็มไปหมด ดอกเห็ดพวกนี้มีขนาดเล็กและไม่เจริญ ต่อไปแต่ดอกเห็ดจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด
เกิดจาก
- หัวเชื้อเห็ดอ่อนแอทำให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์
-การเปิดปากถุงกว้างเกินไปทำให้เส้นใยเจริญไปเป็น ดอกเห็ดจำนวนมากและ อาหารภายในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ ทำให้ดอกที่งอกออกมาแคระแกร็น และแห้งดังนั้นการเปิดปากถุงไม่ควรเปิดกว้างมากนัก
- ความชื้นไม่เพียงพอทำให้ดอกที่กำลังเติบโตแห้งได้
- รดน้ำมากเกินไป และรดไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำขังในถุงพลาสติก ทำให้เห็ดภายในถุงพลาสติกเน่าเสียได้
- เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายก้อนเชื้อหลังเปิดถุง เนื่องจากโรงเรือนสกปรก
- อาจมีแมลงเข้าไปกัดและทำลายก้อนเชื้อ

Credit : กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก




การทำถุงก้อนเชื้อเห็ด(Bag culture)

ป็นการเลี้ยงเส้นใยเห็ดบนวัสดุเพาะในถุงพลาสติก วัสดุเพาะเห็ดในถุงพลาสติก มีอยู่หลายสูตรด้วยกัน เห็ดแต่ละชนิดมีส่วนผสมเหมือน 
กันแตกต่างกันบ้างเพียงบางส่วน แต่ในปัจจุบันนี้นิยมอยู่เพียงสูตรเดียวคือ สูตรขี้เลื่อย โดยเฉพาะขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนอื่น 
ก็ใช้ได้ดีเช่น ไม้มะม่วง ไม้มะชาม ไม้ฉำฉา แต่หายาก การเพาะเห็ดด้วยถุงพลาสติก สามารถเพาะเห็ดได้หลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้าเห็นนางรม,
เห็ดหูหนู,เห็ดเป๋าฮื้อเห็ดขอนขาว,เห็ดลม,เห็ดยานางิ,เห็ดเข็มเงิน,เห็ดเข็มทอง และเห็ดหอมเป็นต้น

เตรียมอุปกรณ์
1.เตานึ่งก้อนเห็ด
2.โรงพักก้อน และโรงเปิดดอก
3.ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน
4.ถุงพลาสติกสำหรับเพาะเห็ด (ถุงร้อนPP) ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้วหรือใหญ่กว่า
5.ดีเกลือ
6.ยิปซั่ม
7.ปูนขาว
8.เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
9.คอขวด
10.จุกพลาสติก (จุกประหยัดสำลี)
11.ยางรัด (ยางแก้ว วงเล็ก)
12.สำลี
13.กระดาษเหลือใช้ เช่น หนังสือพิมพ์ ตัดขนาด 10 x 10 ซม. 14.แอลกอฮอล์ 70%

ส่วนผสม
1. ขี้เลื่อย 100 กก. (เป็นที่เกาะอาศัยของเส้นใยเห็ด เป็นอาหารเห็ด)


2. รำ 5 กก. (เป็นอาหารเห็ด ใส่มากก้อนเสียมาก ใส่น้อยไปผลผลิต ต่ำดอกเล็ก)

3. ปูนขาว 1 กก. (ปรับค่าความเป็นกรดด่าง ให้ธาตุแคลเซียมแก่เห็ด)

4. ยิปซั่ม 2 กก. (ปรับค่าความเป็นกรดด่าง ให้ธาตุแคลเซียมแก่เห็ด)

5. ดีเกลือ 2 ขีด(ช่วยในการเดินของเส้นใย ทำให้แข็งแรงให้ธาตุ แม็กเนเซียม)

6. น้ำพอประมาณ (50-70 ลิตร ใช้ปรับความชื้น 60-65%)

7. น้ำตาล 1 กกหรือกากน้ำตาล 2 กก. (เป็นอาหารเสริมเส้นใยให้เดินเร็ว แข็งแรง เพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะช่วงเชื้อเดินช้าควรเติม แต่ถ้าช่วงฤดูที่เชื้อเดินเร็วอาจไม่จำเป็นต้องเติม)
อัตราส่วนผสมนี้เป็นสูตรมาตร ฐานโดยทั่วไปใช้ได้กับการเพาะเห็ดหลายชนิด การปรับปรุงส่วนผสมนี้สามารถทำได ้ตามความเหมาะสม และวัสดุในท้องถิ่น โดย ยึดแนวทางประหยัด ปลอดภัยและได้ผล ประโยชน์ที่คุ้มค่าลดต้นทุน เช่น อาจเติมปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ ฯลฯ



การปฏิบัติ
กองขี้เลื่อยจำนวน ตามสูตรบนพื้นปูนซีเมนต์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนาประมาณหนึ่งคืบ หว่านรำ ปูนขาว ยิปซั่ม ตามสูตรลงไปให้ทั่วกอง ทำการผสมคลุกให้เข้ากันโดย ใช้พลั่วตั้งกอง-ล้มกอง เหมือน ผสมปูนจนทั่ว แล้วกองขี้เลื่อย เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังเดิม ละลายดีเกลือในบัวรดน้ำรดลง ไปบนกองชี้เลื่อยให้ทั่ว รดน้ำตามลงไปให้ทั่วกะพอหมาด  ผสมขี้เลื่อยอีกครั้งให้เข้ากัน ดูให้ชื้นเท่ากันทั่วกอง โดยปรับความชื้นกองขี้เลื่อยให้ได้ 60-65 % ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบพอแน่น แล้วดูว่ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้ว แสดงว่าเปียกไป ให้น้ำขี้เลื่อยแห้งเพิ่มลงไป ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือ ออกขี้เลื่อยรวมตัวเป็นก้อน แล้วแตกออก 2-3 ส่วน แสดงว่าพอดี ใช้ได้ (ความชื้น 60-65%) แต่ถ้าร่วนไม่รวมตัวเป็นก้อน ให้เพิ่มน้ำลงไปจนพอดี อาจหมักไว้หนึ่งคืนหรือกรอกถุงเลยก็ได้ กรอกถุงทุบอัดถุงให้แน่น ใส่คอขวด ปิดด้วยจุกประหยัดสำลี รอนึ่งฆ่าเชื้อ ก้อนหนึ่งหนักประมาณ 9 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม


การนึ่งฆ่าเชื้อ
เมื่อเตรียมถุง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ด้วยหม้อนึ่งก้อนเห็ด หรือหม้อนึ่งลูกทุ่ง เพื่อฆ่าเชื้อต่าง  ที่เป็นศัตรูเห็ด เวลาในการนึ่งขึ้นอยู่กับ ลักษณะของหม้อ นึ่งและจำนวนก้อนเชื้อ อาจนึ่งเพียง 2 ชั่วโมงสำหรับ การนึ่งเชื้อจำนวนน้อย และนึ่ง 4-6 ชั่วโมง ถ้าก้อนเห็ดจำนวนมาก (เวลานับจากน้ำเดือน ความร้อยระอุทั่วถังนึ่งขึ้นตอนนี้ อย่าลืมเอาสำลี ใส่กระสอบหรือถุง นึ่งไปด้วยสัก 3-4 กกส่วนผสมขี้เลื่อย 100 กกจะได้ถุงก้อนเชื้อโดยประมาณ 150 ถุง หัวเชื้อ 1 ขวดแบน จะเขี่ยเชื้อได้โดยประมาณ 50 ถุง


การเขี่ยเชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อ
ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่า เชื้อเสร็จเรียบร้อยแล้วรอให้เย็น หรืออุ่น  เกือบเย็น ให้นำหัวเชื้อเห็ด ในเมล็ดข้าวฟ่าง ที่ทำขึ้นหรือ ซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้ามา เขี่ยลงไปในก้อนเชื้อนี้ เขี่ยในห้องลมสงบ สะอาด โดยเปิดจุกประหยัดสำล ออกแล้วหยอดเมล็ด เชื้อข้าวฟ่างที่เขย่า ให้ร่วนเทในถุงก้อน เชื้อถุงละ ประมาณ 25-30 เมล็ด แล้วปิดจุกด้วย สำลีที่นึ่งในขั้นตอนที่ 4 (ปั้นสำลีเป็นก้อนกลม  ) ครอบยางรัดให้แน่น แล้วนำขึ้นชั้นพักก้อนเชื้อ

หัวเชื้อที่ดีนั้น ควร เป็นหัวเชื้อทีเส้นใยเห็ด เจริญเต็มขวดใหม่  ไม่มีเชื้อราสีต่าง  ปน การเขี่ยต้องทำในห้องลมสงบ
ทำให้สะอาดที่สุด มือผู้เขี่ยจะ ต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% ใช้จุกสำลีของขวดเชื้อ จุ่มแอลกอฮอล์เช็ด ปากขวดเชื้อบ่อย 













             การพักถุงก้อนเชื้อ & เปิดดอก

ก้อนเชื้อเห็ด หลักจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว เราจะนำก้อนเชื้อ
นี้ไป บ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ อากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นต่ำ เพื่อรอให้เส้นใยเจริญเติบโตลามเต็มถุง ปกติจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 สัปดาห์ โรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย หากมีแสงมากการเกิดดอกจะเร็วกว่าปกติเห็ดที่ออกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ ระยะบ่มที่มาตรฐานคือประมาณ 20-25 วัน
แต่ทั้งนี้การบ่มก้อนระยะเวลาต่างกันขึ้น กับชนิดของเห็ดและสิ่งแวดล้อม เมื่อเชื้อเต็มก้นถุงนำไปเปิดดอกได้ อย่าให้ก้อนเชื้อเต็มจนรัดแน่น แล้วเปิดดอก ควรให้ก้อนเชื้อระยะที่เชื้อเดินเต็มใหม่  นำมาขึ้นโรงเปิดดอก (ทำเป็นแผงแบบ ตัว A) เปิดถุงเพาะโดยแกะกระดาษออก ดึงเอาสำลีออก แคะเม็ดข้าวฟ่างออกให้สะอาด เอาคอขวดออกเริ่มรดน้ำ 3-5 วันจะเกิดดอก ถ้าเป็นเห็ดหูหนูต้องเปิดดอกแบบแขวน และออกดอกตามรอยกรีด ประมาณ 10 วันหลังจากกรีดจะออกดอก การเปิดดอกลการดูแลโรงเรือน ต้องดูแลเรื่องความสะอาด การถ่ายเทของอากาศ แสง ความชื้นในโรงเรือน และธรรมชาติ ลักษณะนิสัยของเห็ดแต่ละชนิด ต้องเฝ้าสังเกตดูแลอย่างใกล้ชิด

Credit : Khaomak